ทฤษฎีการบริหารจัดการองค์กรทาง ECT
Two Factor Theory ทฤษฎีสองปัจจัย
ประวัติส่วนตัว และประสบการณ์ ของ Frederick Herzberg
สัญชาติอเมริกัน จบการศึกษา ปริญญาเอกจิตวิทยา ด้านหลักการจูงใจ หรือ Motivation Frederick Herzberg เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่ City College of New York และต้องไปรับราชการทหารเป็นกองลาดตระเวน ทำให้ต้องพักการเรียนช่วงระยะหนึ่งได้รับแรงบันดาลใจ เรื่องการจูงใจ (Motivation) จากการที่ Frederick Herzberg ได้มีโอกาสพดูคุยกับชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ๆ ฐาน Dachau concentration camp และสังคมในละแวกนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีระดับการจูงใจสูงมาก
- Frederick Herzberg สอนหนังสือและทำงานวิจัยทำงด้านจิตวิทยาที่ Case Western
Reserve University ใน Cleveland
- ก่อตั้ง Department of Industrial Mental Health
- สอนวิชาบริหารที่ University of Utah และได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกบการจูงใจมนุษย์ในสถานการณ์การทำงาน
- ปี1959 Herzbergได้ร่วมกับ Bernard Mausner และ Babara Synderman ทำการวิจัย
และเขียนหนังสือ The Motivation at Work
หลักการ/แนวคิด
ได้คิดค้นทฤษฎีการจูงใจในการทำงาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการบริหาร ชื่อทฤษฎีของ Herzberg มีชื่อเรียกต่างกันออกไป คือ “motivation-maintenance theory” , “dual factor theory” หรือ “the motivation-hygiene theory”
หลักและแนวคิด
ในการเริ่มต้นค้นคว้าเพื่อสร้างทฤษฎี Herzberg ได้ดำเนินการสัมภาษณ์นักวิศวกรและนักบัญชี
ซึ่งจุดมุ่งหมายของการค้นคว้าเพื่อศึกษาทัศนคติที่เกี่ยวกับงานเพื่อที่จะให้มีหนทางเพิ่มผลผลิต ลดการขาดงาน และสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน เพื่อประโยชน์ทั่วไปสำหรับทุกๆคนก็คือความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลต่างๆที่จะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงขวัญ และกำลังใจ ที่จะส่งผลให้ทุกคนมีความสุขกายสบายใจและมีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น
Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัย ที่มีผลต่อการทำงานของบุคคลกรในองค์ โดยศึกษา ถึงทรรศนะคติของบุคคลที่มีต่อการทำงานเพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอในในการทำงาน เพื่อที่ทำให้คนงานมีความรู้สึกที่ดีในการที่จะ พยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้น เขาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor)
เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนทำงาน โดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้น กับพนักงาน อันจะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจเกี่ยวกับกับงานที่ทำ
2.ปัจจัยค้ำจุน (Maintenance Factor)
เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงานให้กับพนักงาน ชึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้นได้ หรือเป็นหัวข้อกำหนดเบื้องต้นที่จะป้องกันมิให้คนไม่พอใจในงานที่ทำอยู่
มีองค์ประกอบอะไร
ปัจจัยจูงใจ ( Motivation Factors) คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทำงานอย่าง มีความสุข และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ซึ่งถือว่าเป็น “ปัจจัยภายใน (Intrinsic) ”
· ค่าตอบแทนและผลประโยชน์
· นโยบายบริษัทและการบริหาร
· ความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกัน
· สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน
· การควบคุมดูแลงาน
· สถานภาพ
· ความมั่นคงของงาน
ปัจจัยสุขอนามัย (Hygiene Factors) คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพอใจในการทำงานแต่ยังไม่พอที่จะนำไปใช้ในการจูงใจ ถือว่าเป็น “ ปัจจัยภายนอก (Extrinsic) ”
· ความสำเร็จ
· การได้รับการยอมรับ
· ตัวงานที่ทำ
· ความรับผิดชอบ
· การได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
· ความเจริญก้าวหน้า
ข้อดี/ข้อเสีย
ข้อดี
· เป็นทฤษฎีที่สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานปฏิบัติ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การ ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
· ปัจจัยที่สามารถสนองตอบความต้องการภายในของบุคคล
ข้อเสีย
เป็นทฤษฎีที่ใช้ได้กับกลุ่มอาชีพที่มีฐานะตำแหน่งสูง เช่น วิศวกรหรือนักบัญชี กรณีการนำไปใช้กับพนักงานระดับต่ำลงไปหรือพนักงานสตรี และ ณ ระดับของพนักงานประจำวัน จะไม่ค่อยได้ผลลัพธ์ที่น่าพึ่งพอใจ
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
งานที่สร้างแรงจูงใจที่แท้จริง ตามแนวคิดของ Herzberg
- งานที่ดีจะต้องมีความท้าทายเพื่อกระตุ้นให้พนักงานได้ใช้ความสามารถ
- พนักงานที่มีความสามารถสูงขึ้นจะต้องได้รับงานที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
- หากงานที่มีอยู่ไม่เหมาะสมกับความสามารถของพนักงานจะต้องมีการพิจารณาโดยเร่งด้วยหรือหาพนักงานมีความสามารถต่ำมาทำงานแทน แต่หากพนักงานไม่ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถนั้น แสดงว่าเกิดปัญหาด้านการจูงใจ
ใช้อย่างไร(หรือจัดทำอย่างไร)
โดยสรุป Herzberg ได้ให้ความเข้าใจว่า แรงจูงใจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากแต่คนและจะมิใช่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารโดยตรง และปัจจัยที่ใช้ในการบำรุงจิตใจนั้นอย่างดีที่สุดก็คือ จะสามารถช่วยขจัดความไม่พอใจต่างๆได้ แต่จะไม่สามารถสร้างความพึ่งพอใจได้ ดังนั้น ในกระบวนการจูงใจที่ต้องการสร้างให้เกิดแรงจูงใจที่ดี จึงจำเป็นต้องจัดและกำหนดปัจจัยต่างๆทั้งสองกลุ่ม คือ ทั้งปัจจัยที่ใช้บำรุงจิตใจ (สภาพแวดล้อม) และปัจจัยที่ใช้จูงใจได้ (ของงานที่ทำ) ทั้งสองอย่างพร้อมกัน
มีใครนำเครื่องมือไปใช้บ้าง และได้ผลอย่างไร
ชูยศ ศรีวรขันธ์ (2552) นำ แนวคิดของ Frederick Herzberg ในการทำวิจัย เรื่องปัจจัยแรงจูงใจต่อผลการปฏิบัติงาน
: กรณีศึกษา ขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตอำเภอเมือง จ.นครราชสีมา
ผลการวิจัยพบว่า
บุคลากรในท้องถิ่นมีความพึงพอใจในการทำงานมากจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรเพิ่มขึ้น แต่จะไม่พึงพอใจในการได้รับเงินค่าตอบอื่นเป็นกรณีพิเศษ เท่าที่ควร และได้สะท้อนให้เห็นปัญหาการได้รับเงินค่าตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ(โบนัส) ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และการขาดมาตรฐานในการประเมินผลงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนต่างๆต้องได้รับการปรับปรุงและแก้ไขในส่วนที่บกพร่องและทำให้เกิดปัญหาเพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
อุทัย หอมนาน , ผณินทรา ธีรานนท์,ฉลองรัฐ เจริญศรี บทความวิชาเรื่องขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการพัฒนำชุมชนจังหวัดเชียงราย
ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีจูงใจหรือทฤษฎี 2 ปัจจัยของเฟรดเดอริก เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick
Herzberg) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เก็บข้อมูลจากข้าราชการพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย จานวน 109 คน ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายมีขวัญและกำลังใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ปัจจัยสุขอนามัย จานวน 8 ด้าน มีขวัญและกำลังใจแตกต่างกันเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ ขวัญและกำลังใจระดับ มากมีจานวน 4 ด้าน คือ ด้านการบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านสถานภาพและด้านความเป็นอยู่ส่วนบุคคล ส่วนขวัญและกำลังใจระดับปานกลางมีจานวน 4 ด้านคือ ด้านสภาพการทำงาน ด้านค่าจ้าง เงินเดือนและสวัสดิการ ด้านความมั่นคงในหน้าที่การงาน และด้านนโยบายองค์การ ส่วนปัจจัยจูงใจ จำนวน 6 ด้าน ข้าราชการพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายมีระดับขวัญและกำลังใจเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมาก จานวน 5 ด้านประกอบด้วย ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะงาน และด้านการพัฒนาตนเองส่วนด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีขวัญและกำลังใจระดับ ปานกลาง
กรณีศึกษา
• บริษัท ตันไม่ตัน จำกัด
• Bathroom Design
• บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น